วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

คำนาม ความหมายของคำนาม เเละ ชนิดของคำนาม

คำนาม


วามหมายของคำนาม

               คำนาม หมายถึง คำพื้นฐานสามัญที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ อาการ สถานที่ จัดเป็นคำชนิดแรกในภาษาไทย

ชนิดของคำนาม

               หลักภาษาไทยได้แบ่งคำนามออกเป็น ๕ ชนิด  ดังนี้

               ๑. คำนามสามัญ  คือ คำนามทั่วไป  เช่น

                   นักเรียนเขียนหนังสือ

                   หมากัดแมว

                   ปากกา  ดินสอ  อยู่ในกล่อง

               ๒. คำนามวิสามัญ  คือ คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ  เช่น

                   ซันป๋อกำลังเขียนรายงาน

                   ก้องไปเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ดตอนปิดเทอม

               ๓.  ลักษณนาม  คือ คำนามที่ประกอบกับคำนามอื่น เพื่อแสดงรูปลักษณะ ขนาด หรือ ปริมาณของนั้น เช่น

                   ยักษ์  ๓  ตน                ขลุ่ย ๑ เลา               พระภิกษุ  ๑  รูป

                   พระพุทธรูป  ๒  องค์       ดินสอ  ๓  แท่ง           เงิน  ๕  บาท

               ๔.  สมุหนาม คือ  คำนามที่แสดงหมวดหมู่  เช่น

                   ฝูงนกพิราบบินกลับรัง

                   โขลงช้างเดินเข้าป่า

                   คณะนักร้องหมอลำเดินทางไปจังหวัดเลย

               ๕.  อาการนาม  คือ คำนามที่เกิดจากคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ ที่มีคำว่า การ  และ  ความ  นำหน้า  เช่น

                   ความรักทำให้คนตาบอด

                   การออกกำลังกายทำให้ร่างกายแข็งแรง
ข้อสังเกตควรจำ


                                   ๑. คำลักษณนามและคำสมุหนาม อาจใช้คำเดียวกันให้นักเรียนสังเกตที่ตำแหน่ง ดังนี้
                                       คำลักษณนามจะอยู่หลังคำนาม ส่วนคำสมุหนามจะอยู่หน้าคำนาม  เช่น
                                                ฝูงม้าลายลงมาดื่มน้ำที่หนองน้ำในหมู่บ้าน  (ฝูง เป็นคำสมุหนาม)
                                                ม้าลายฝูงหนึ่งลงมาดื่มน้ำที่หนองน้ำในหมู่บ้าน (ฝูง เป็นคำลักษณะนาม)
                                   ๒. ถ้าคำว่า “การ” หรือ “ความ” นำหน้าคำนาม  ไม่ถือเป็นอาการนาม แต่จัดเป็น สามายนาม  เช่น
                                                                การไฟฟ้า         การประปา        ความอาญา

 หน้าที่ของคำนาม
               ๑. คำนามทำหน้าที่เป็นประธาน  เช่น   น้อยชอบวิ่งออกกำลังกายตอนเช้าๆ
               ๒. คำนามทำหน้าที่เป็นกรรม      เช่น   เขากำลังเขียนจดหมาย
               ๓. ทำหน้าที่ขยายคำนาม          เช่น   ดอกแก้วน้องสาวของฉันเป็นคนเรียนเก่ง
               ๔. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม (คำนามจะอยู่หลังคำกริยาเหล่านี้ เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ)  เช่น  สมชายหน้าคล้ายพ่อเขามาก
               ๕. ทำหน้าที่ใช้เป็นคำเรียกขาน    เช่น  แดงเอ๊ยออกมาหายายหน่อยซิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น